วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย

เหนือสุดในสยาม


ชายแดนสามแผ่นดิน

ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา


 ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย

รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต
เพราะพ่อขุนเม็งรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ
 นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พ่อขุนเม็งร้ายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย
โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพ่อขุนเม็งรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้
พ่อขุนเม็งรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก
จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น

วนอุทยานภูชี้ฟ้า



เป็นส่วนหนึ่งของดอยผาหม่น เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามราวภาพวาด ด้วยทิวทัศน์ของภูเขาสลับซับซ้อนดูกว้างไกล การจะเดินขึ้นไปชมทะเลหมอกควรจะขึ้นไปยอดภูตั้งแต่ฟ้ายังมืด ภูชี้ฟ้า มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนมกราคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า



- เป็นป่าดิบเขา ยกเว้นบนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้าประมาณ 300 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย ก่อก้างด้าง ก่อแดง ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อสีเสียด อบเชย กำยาน หว้า เหมือด สารภี จำปาป่า จำปีป่า พันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส เฟิร์นชนิดต่าง ๆ


- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เก้ง กระจง หมูป่า อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือ ปลา แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า เพียงพอน กระรอกบิน กระรอก กระแต


- นกที่พบเห็นได้แก่ นกเขา เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรี นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกกิ้งโครง นกขุนทอง นกแซว นกนางแอ่น นกยูง นกตะขาบ นกหัวขวาน นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า


- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ เต่า กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง


- สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ


- ปลาที่พบเห็นได้แก่ ปลาแก้ม ปลาข้างลาย ปลาก้าง ปลาขาว ปลาซิว

พระธาตุจอมแว่

พระธาตุจอมแว่



ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทร. o -๕๓๗๒- ๑๘๒๑ มีพระครูพิมล พิพัมนคุณเป็นเจ้าอาวาส



ประวัติพระธาตุ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในราว จ.ศ. ๖๕๖ (พ.ศ. ๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง จากนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวใน เดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีการเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ. ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘o ) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้ร่วมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณาพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม แล้วบรรจุพระมหาชินธาตุเอาไว้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ



การเดินทาง จากอำเภอแม่สรวยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ ย้อนกลับไปที่ทางแยกเชียงราย – แม่สรวย อำเภอแม่ลาวเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ถนน เชียงราย – พะเยา มุ่งสู่อำเภอพานข้ามสะพานข้ามแม่น้ำลาว ผ่านบ่อน้ำพุร้อนห้วยทรายขาว เข้าเขตอำเภอพาน เลี้ยวขวาเข้าถนนสายในตรงแยกวัดไชยมงคล เข้าไปประมาณ ๓oo เมตรจะพบทางเข้าพระธาตุจอมแว่ฝั่งขวามือ รวมรายการทั้งสิ้นประมาณ ๔๙ กิโลเมตร



ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแว่

- ความหมายนัยยะที่ 1 แว่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า แวะถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง

- ความหมายนัยยะที่ 2 แว่ เปรียบเหมือนเสียงเริ่มพูด เริ่มเจรจา ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ



คำบูชาพระธาตุ

อะหัง วันทามิ มหาชินะ เกศา ธาตุโย

พุทธรูปัง โคตมัง อะหัง วันทามิ

ดอยแม่สลอง


ประวัติความเป็นมา :
ดอยแม่สลอง เป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง ของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบอยู่ทางตอนใต้ของจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ นำโดยเหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจสำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋ง จึงถอยร่นไปปักหลักที่เกาะไต้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลังพลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนัก จนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า แต่ถูกฝ่ายพม่าผลักดัน เกิดการปะทะกันหลายครั้ง จนต้องถอยร่นมาจนถึงเทือกดอยตุงชายแดนไทย


ฝ่ายพม่าได้ร้องเรียนไปยังสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2496 และมีมติให้อพยพกองกำลังพลัดถิ่นไปยังประเทศไต้หวัน แต่ทหารสังกัดนายพลหลี่เหวินฝาน และนายพลต้วนซีเหวิน ราว 3 หมื่นคน ทำเรื่องขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคต เพราะไต้หวันเป็นเพียงเกาะเล็กๆ รัฐบาลไทยอนุญาตโดยจัดสรรให้ทหารของนายพลหลี่เหวินฝาน ไปอยู่ที่ถ้ำง้อบ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ส่วนทหารสังกัดนายพลต้วนซีเหวิน 15,000 คน อยู่บนดอยแม่สลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เพื่อใช้เป็นกันชนกับชนกลุ่มน้อย ทำให้ดอยแม่สลองในยุคแรก เป็นดินแดนลี้ลับต้องห้าม มีปัญหายาเสพติด และกองกำลังติดอาวุธมาตลอด ทางการไทยได้พยายามแก้ปัญหา โอนกองกำลังเหล่านี้มาอยู่ในความดูแลของกองบัญชาการทหารสูงสุด
กระทั่งปี พ.ศ.2515 ครม.มีมติรับทหารจีนคณะชาติให้อาศัยในแผ่นดินไทยอย่างเป็นทางการ ยุติการค้าฝิ่น ปลดอาวุธ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรม โดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มโครงการปลูกชา และปลูกสนสามใบ เพื่อทดแทนป่า ชุมชนบนดอยแม่สลองได้ชื่อใหม่ เป็นบ้านสันติคีรี มีการออกบัตรประชาชน ให้เมื่อปี พ.ศ.2521 ดอยแม่สลองคืนสู่ความสงบ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนับแต่นั้นมา
 
สิ่งที่น่าสนใจ :


                                                                         ชิมชาอู่หลง

ชาเป็นพืชเศรษฐกิจของบ้านสันติคีรี ในพื้นที่ปลูกหลายพันไร่ มีต้นชามากกว่า 2 ล้านต้น ที่นี่จึงมีไร่ชา โรงอบชา และร้านจำหน่ายชาหลายสิบร้านเรียงรายบนถนนสายหลัก ที่ผ่านกลางหมู่บ้าน ชาที่มีชื่อเสียงคือ ชาอู่หลง ซึ่งมีกลิ่นหอมพิเศษ ต้องมีวิธีการดื่มเฉพาะแบบชาวไต้หวัน ร้านจำหน่ายชาทุกร้าน เช่นวังพุดตาล ร้านชานายพลต้วน จะเชิญชวนให้ผู้มาเยือนได้ทดลองชิมชา พูดคุยสอบถามถึงวิธีการชงชา เลือกซื้อหาชา อุปกรณ์ชงชาแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถไปชมไร่ชา การเก็บชา โดยไม่เสียค่าบริการได้อีกด้วย



                                                                      ชมดอกซากุระ

เส้นทางเข้าสู่หมู่บ้านสันติคีรี ทั้งด้านกิ่วสะไต และบ้านอีก้อสามแยก จะปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งเรียงรายสองข้างทาง เป็นระยะทางกว่า 4 กม. ต้นนางพญาเสือโคร่งจะทิ้งใบจนหมด และผลิดอกสีชมพูพราวไปทั้งต้นในหน้าหนาว ดูราวกับดอกซากุระของญี่ปุ่น สวยงามมาก ต้นนางพญาเสือโคร่งเหล่านี้ เป็นไม้พื้นถิ่นบนดอยทางภาคเหนือ เป็นไม้โตเร็ว นางพญาเสือโคร่งบนดอยแม่สลองนำมาปลูกไว้ในช่วงปี พ.ศ.2525
ช่วงเวลาที่เหมาะสม ระหว่างเดือน ธ.ค. - ก.พ.
สุสานนายพลต้วน

 
อยู่บนเนินเหนือหมู่บ้าน แยกขึ้นไปทางด้านข้างคุ้มนายพลรีสอร์ต ประมาณ 1 กม. สร้างเมื่อปี พ.ศ.2523 แท่นหินอ่อนบรรจุร่างนายพลต้วนซีเหวิน อยู่ภายในศาลาเก๋งจีนขนาดใหญ่ สีขาว พื้นปูหินอ่อน ด้านหลังแท่นบรรจุศพ มีภาพถ่ายเก่าแก่เกี่ยวกับประวัติและผลงาน ด้านหน้าเป็นลาดเนิน มีตัวอักษร "ต้วน" ภาษาจีน สีทองบนพื้นสีฟ้า

สุสานนายพลต้วนอยู่บนเนินที่ระดับความสูงประมาณ 1,300 ม. สามารถมองเห็นบ้านสันติคีรีในหุบต่ำลงไปเบื้องล่าง เป็นจุดชมทิวทัศน์ของหมู่บ้านที่ดีจุดหนึ่ง ด้านหน้ามีร้านชาสองร้าน ซึ่งจะเชิญชวนให้ผู้มาเยือนได้ทดลองชิมชา



พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี

 
ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดที่ระดับความสูง 1,500 ม. เหนือหมู่บ้านสันติคีรี ห่างจากหมู่บ้าน 4 กม. มีถนนลาดยางตัดขึ้นไปยังพระบรมธาตุฯ แต่ถนนสูงชัน คดเคี้ยวมาก
พระบรมธาตุฯ สร้างแล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ.2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐานสี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 ม. ฐานกว้าง ด้านละประมาณ 15 ม. ประดับกระเบื้องสีเทา มีซุ้มจระนำด้านละสามซุ้ม เรือนธาตุประดับพระพุทธรูปยืนสี่ทิศ องค์ระฆังประดับแผ่นทอง แกะสลักลวดลาย ใกล้กับองค์เจดีย์เป็นวิหารแบบล้านนาประยุกต์
ที่ตั้งของพระบรมธาตุฯ เป็นจุดสูงสุดของเทือกดอยแม่สลองจึงชมทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะในยามเย็น ขณะเดียวกัน องค์พระธาตุยังเด่นเป็นสง่า มองเห็นแต่ไกล เป็นสัญลักษณ์อีกอย่างของดอยแม่สลอง

พระธาตุจอมแจ้ง




ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โทร o- ๕๓๖๕-๖๒๙๗ มีพระครูอดุลสีหวัตรเป็นเจ้าอาวาส


ประวัติพระธาตุ วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี เมื่อปี พ.ศ. ๒oo๑ จึงได้ขอวานตาแก่คนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรม เฝ้ารักษาพระธาตุแห่งนี้ให้ไปตักน้ำที่แม่น้ำซ่วยขึ้นมาล้างหน้า และได้พักอยู่ที่นี่ ๗ วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ตาแก่คนนั้นนำไปบรรจุลงในพระธาตุจนเป็นที่สำเร็จลุล่วงแล้วจึงเดินทางจาริกต่อไป และยังได้ทำนายไว้ว่าสมัยต่อไปข้างหน้านี้ ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ส่วนแม่น้ำซ่วยนั้น ชาวบ้านจะเรียกเปลี่ยนไปว่า “แม่น้ำสรวย” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่ออดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่สรวย และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง ได้เทศนาอบรมประชาชนให้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในองค์พระธาตุแน่นแฟ้นขึ้นจนประชาชนในเขตอำเภอแม่สรวยได้จัดงาน


บุญประเพณีทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แดละได้แนะนำชักชวนศรัทธาญาติโยมให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างภายในวัดพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองทิพย์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ



การเดินทาง จากเวียงป่าเป้า ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ (ถนนเชียงใหม่ – เชียงราย) สู่อำเภอแม่สรวย ผ่านปากทางเข้าโรงงานเชียงรายไวน์เนอร์รี่ ศาลสมเด็จพระนเรศวร, โรงพยาบาลแม่สรวย ข้ามสะพานแม่น้ำลาว ตีนสะพานมีซอยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระธาตุจอมแจ้งอีก ๒oo เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔o กิโลเมตร



ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแจ้ง เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง

คำบูชาพระธาตุจอมแจ้ง


อิมัสมิง อะรุนุธคะมะเน


ประภัตตะเคทิตัง ธาตุ เจติยัง


อะหังวันทามิ สะระสา อะหังวันทามิ สัพพะทา

พระธาตุดอยจอมทอง


ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)




การเดินทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง



ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เชื่อกันว่า ถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะมีทรัพย์สินเงินทอง



คำบูชาพระธาตุจอมทอง

วันทามิ เจติยัง สัมพัฏฐาเนสุ ปติฏฐิตา สรีระธาตุ มหาโพธิง พุทธะรูปัง สกลังสทา

นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะตังเส พรัมมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป

สรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อรหันตาธาตุ โยเจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสีติ

ติสะหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ อหังวันทามิ ธาตุโย อหังวันทามิ

ทูระโต อหังวันทามิ สัพพะโส

_________________________________________________________________________

ดอกผาตั้ง

เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นเทือกเขาแนวพรมแดนไทย-ลาว สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดอยผาตั้งถือเป็นเป็นจุดชมวิวไทย-ลาว และทะเลหมอกที่สวยงามไม่แพ้ภูชี้ฟ้า บนจุดชมวิวจะเป็นแนวเขาซึ่งชมวิวได้ตลอดแนว นอกจากนั้นบนดอยยังมีจุดที่น่าสนใจ คือ ผาบ่อง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนดอยผาตั้งจึงทำอาชีพเกษตร ปลูกบ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล และชา ซึ่งจะให้ผลผลิตมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก




วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง


วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน เป็นวัดที่เก่าแก่ของเมืองเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาไท เมื่อ พ.ศ. 1887 (ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ) หลังจากนั้นพระเจ้าแสนภูได้เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่แทนพระราชบิดา คือ พระเจ้าชัยสงครามซึ่งเสด็จมาประทับยังเมืองเชียงราย พร้อมทั้งนำอัฐของพระราชบิดา คือพ่อขุนเม็งรายมหาราชที่เสด็จสวรรคตที่เชียงใหม่กลับมายังเมืองเชียงรายด้วย




พระธาตุเจดีย์หลวงได้ชื่อมาจากพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดซึ่งสูงถึง 88 เมตร มีฐานกว้าง 24 เมตร เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน ภายในวัดนอกจากพระเจดีย์หลวงแล้วยังมีพระวิหารซึ่งเก่าแก่มากพังทลายเกือบหมดแล้วและเจดีย์ธาตุแบบต่างๆ อีก 4 องค์ โบราณสถานแห่งนี้แม้ว่าจะปรักหักพังไปมากแล้วแต่ได้รับการบูรณะอย่างดีให้สมกับเป็นวัดที่สำคัญของเมืองหิรัญนครเงินยางภายในสมัยอาณาจักรล้านนาไท

หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ


        หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร ตัวอาคารล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงาม เป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่น
      เมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฏหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง ในหัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆ
และยาเสพติดอื่นๆ





วัดร่องขุ่น




             วัดร่องขุ่น  ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น สร้างสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนา อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่




        ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง